ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

3

ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2017 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 453 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
รวมภาพกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2558
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

๕.๒ภูมิภาคเอเชียใต้

เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดียปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย
อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า
ภูมิภาคเอเชียใต้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน อารยธรรมโบราณได้พัฒนาขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองสูงสุดของภูมิภาคคือ ช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ 17 เมื่อราชวงศ์โมกุล ขยายพระราชอาณาจักรขึ้นสู่ภาคเหนือของอนุทวีป การล่าอาณานิคมของชาติยุโรปได้นำไปสู่การเข้ายึดครองของผู้รุกรานใหม่นำโดยโปรตุเกส ฮอลแลนด์ และท้ายสุดคือ อังกฤษ ฝรั่งเศสก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่ได้รุกเข้าครอบครองดินแดนบางส่วนของเอเชียใต้ไว้ภายใต้การปกครองของตนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ประเทศทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียใต้ได้รับเอกราชจากชาติยุโรปในช่วงปลายทศวรรษ 1940
แนวความคิดของ "เอเชียใต้" มีประโยชน์ในการช่วยให้การอ้างอิงถึงประเทศต่างๆที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ในลักษณะของการรวมเป็นกลุ่มแห่งภูมิภาคได้ พร้อมกันนั้น คำว่า "อนุทวีป" ก็เป็นคำที่มีประโยชน์เช่นกันเมื่อใช้ในการอภิปรายประเด็นต่างๆที่สะท้อนถึงการมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรืออื่นๆ ร่วมกันหรือมีรากเหง้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ประชาชนของประเทศต่างๆในเอเชียใต้นอกเหนือจากประเทศอินเดีย บางครั้งไม่พอใจที่ถูกเรียกหรือกล่าวถึงว่า "อินเดีย" หรือ "ชาวอินเดีย" และบางครั้งก็ไม่พอใจแม้ว่าจะเป็นการพูดถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือรากเหง้าในอดีตก็ตาม แต่ว่าคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้โดยมีจุดมุ่งหมายกล่าวถึงอินเดียและชาติเพื่อนบ้านใกล้เคียงในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างเช่นวลีที่ว่า "Greater India" นั้นก็ยิ่งเป็นที่น่ารังเกียจมากยิ่งกว่าเสียอีก
เอเชียใต้ บางครั้งหมายถึง เอเชียทั้งหมดที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งถือว่าเป็นเอเชียเหนือ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น